กว่าจะเขียนบทแรกได้จบนี่ ลำบากมาก เพราะเป็นมือใหม่หัดเขียน พิมพ์ไปก็งงๆ พอเริ่มเขียนก็ป่วยเจ็บแขนขวาแต่ตั้งใจแล้วต้องทำให้ได้ ก็เลยออกมาดังนี้ครับ
บทความนี้เกิดขึ้นมาจากหลายสาเหตุด้วยกันคือ
- อยากให้คนอื่นรู้และเข้าใจเกี่ยวกับ Innovation ที่ถูกต้องและใช้งานภาษาให้ถูกต้องด้วย
- อยากให้ทุกคนได้นำไปใช้ประโยชน์
- นำความรู้ที่ได้ไปต่อยอด
เรามาเริ่มด้วยที่มาของคำศัพท์นะครับ
INVENTION แปลเป็นไทย หมายถึง สิ่งประดิษฐ์ อาจจะใหม่ หรืออาจจะเป็นการปรับปรุงจากของที่มีอยู่เดิมก็ตาม หรืออาจจะหมายถึง ประดิษฐกรรม รวมความแล้ว ก็คือ ผลิตภัณฑ์ที่ถูกคิดขึ้นมาใหม่ เป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่สร้างขึ้นมา แต่อาจจะใช้ในชีวิตจริงได้หรืออาจจะเป็นแค่งานต้นแบบ (Phototype) แต่ยังไม่สามารถใช้งานจริงได้อาจจะต้องปรับปรุงอีกเพื่อจะสามารถใช้งานได้จริง
COMMERCIALIZATION แปลเป็นไทย ให้เข้าใจง่ายขึ้นก็คือ การยอมรับจากผู้อื่นหรือผู้อื่นยินยอม หรือซื้อความคิด ให้สามารถนำเข้าสู่ตลาด ยินดีซื้อสินค้านั้นๆ
ซึ่งมีผู้รู้อย่างคุณ Bill Aulet อาจารย์จาก MIT ผู้ดำรงตำแหน่ง MD of Martin Trust Center for MIT Entrepreneurship ได้นิยามคำว่า Innovation เอาไว้ว่า
Innovation = Invention + Commercialisation
แปลเป็นไทยให้เข้าใจง่ายขึ้น ก็คือ การนำเอาสิ่งประดิษฐ์ที่คิดขึ้นใหม่ ที่โลกนี้ยังไม่มีใครเคยคิดหรือทำขึ้นมาก่อน เสนอขายตั้งแต่ขายความคิดหรือขายเป็นเงินก็ตาม ถ้ามีผู้ยินดีซื้อก็สามารถใช้ก็สามารถบอกได้ว่า สิ่งที่เสนอขายนั้นเป็น Innovation
ทีนี้มาดูภาษาไทยบ้างนะครับ
Innovation แปลเป็นไทยคือ นวัตกรรม ซึ่งปัจจุบันนิยมใช้แพร่หลายมากแต่ก็ใช้กันอย่างผิดๆ ผิดอย่างไรมาดูกันนะครับ (ที่มา : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา)
นวัตกรรม (อ่านว่า นะ-วัด-ตะ-กัม) เขียน น หนู ว แหวน ไม้หันอากาศ ต เต่า ก ไก่ ร หัน ม ม้า เป็นศัพท์ที่ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ทรงบัญญัติขึ้นให้ตรงกับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า innovation (อ่านว่า อิน-โน-เว-ชั่น)
คำว่า นวัตกรรม เกิดจากการนำคำว่า นวตา (อ่านว่า นะ-วะ-ตา) ซึ่งแปลว่า ความใหม่ กับคำว่า กรฺม (อ่านว่า กัร-มะ) ซึ่งแปลว่า การกระทำ มาเข้าสมาสกัน แล้วใช้ในความหมายว่า การซ่อมใหม่ การซ่อมแซม เช่น นวัตกรรมในการศึกษา หมายถึง การปรับปรุงแก้ไขระบบการศึกษา
เห็นมั้ยครับว่าเราใช้ผิดๆกันอย่างไร เช่น “ปัจจุบันเราได้มีการนำเอานวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ในการทำงาน” ถ้าเรามาลองแปลความหมายกันดูจะเห็นว่าเวลาแปลออกมาแล้วจะกลายเป็นอย่างไร แปลออกมาเป็น “ปัจจุบันเราได้มีการนำเอาสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ใหม่ใหม่ มาใช้ในการทำงาน” เห็นมั้ยครับถ้าชาวต่างชาติมาลองแปลความหมายแล้วจะงงดีมั้ยครับ ทีนี้เราพอจะเข้าใจกันแล้วนะครับ
ทีนี้เรามาดูเรื่องนวัตกรรมกับเทคโนโลยี จำเป็นต้องมาคู่กันหรือไม่
คำตอบคือ ไม่จำเป็นเพราะที่จริงแล้ว Innovation หรือนวัตกรรม อาจจะมีเทคโนโลยีหรือไม่ก็ได้ยกตัวอย่างให้เห็นได้ง่ายๆ (ที่มา : TECHSAUCE Team ) เช่น
คุณ Bill Aulet ยังพูดเพิ่มเติมว่า Invention ในที่นี้ไม่ได้แปลว่าจะต้องเป็นสิ่งใหม่ที่โลกยังไม่เคยมีมาก่อน แต่อาจจะเป็น Invention เดิมที่มีอยู่แล้ว จากนั้นก็ได้ยกตัวอย่าง เช่น
Steve Jobs ไม่ใช่คนแรกที่ทำเมาส์คอมพิวเตอร์ แต่เขาเป็นผู้ที่ทำให้อุปกรณ์นี้ได้รับการตอบรับจากตลาดเป็นอย่างดี
Google มีชื่อเสียงเรื่อง Google AdWords สำหรับการลงโฆษณา Pay Per Click บน Search Engine แต่จริงๆ เคยมีบริษัทอื่น ที่ชื่อ Overture เคยทำเทคโนโลยีแบบนี้มาก่อนแล้ว
“ เมาส์ของ Steve และ AdWords ของ Google ไม่ใช่สิ่งใหม่ แต่ทั้งคู่ได้ชื่อว่ามี Innovation ยอดเยี่ยม เป็นเพราะว่าสิ่งที่พวกเขาทำ สามารถทำให้เกิดความต้องการจริงในตลาดได้”
นี่เป็นตัวอย่างว่าทำไมเราถึงต้องพยายามผลักดันให้โลกเทคโนโลยี และโลกธุรกิจได้มาเจอกัน
เพราะ Innovation ไม่ได้ถูกผูกอยู่กับ Technology เพียงอย่างเดียว แต่ยังมีส่วนผสมหลายอย่าง เช่น Process, Business Model, Market Positioning เป็นต้น
ตัวอย่างเพิ่มเติม
เพราะฉะนั้นบริษัทที่ได้ชื่อว่าขึ้นชื่อด้าน Innovation หัวใจสำคัญคือมี Business Model ที่ดี จริงอยู่ว่า Technology เป็นเส้นเลือดหล่อเลี้ยง ไม่งั้นบริษัทอย่าง Zipcar คงไม่สามารถให้บริการเครือข่ายรถยนต์ไร้กุญแจได้ แต่ Innovation ของบริษัทไม่ใช่เรื่องเทคโนโลยีไร้กุญแจนั้น
Innovation ของ Zipcar คือการที่คนที่ต้องการเช่ารถ เมื่อเจอรถของ Zipcar ตามพื้นที่ใดๆ ก็สามารถเช่าขับได้เลย โดยไม่ต้องตามหาเจ้าของเพื่อนัดรับกุญแจ
เป็นไงบ้าง พอจะได้ความรู้กันบ้างนะครับ
ทีนี้เรามาดูว่านวัตกรรมแบ่งเป็นประเภทอย่างไรบ้าง
นวัตกรรมแบ่งเป็น 3 ประเภทคือ
Product Innovation นวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์
Process Innovation นวัตกรรมด้านกระบวนการ
Service Innovation นวัตกรรมด้านบริการ
ส่วนใหญ่เราจะรู้จักหรือได้ยินแต่นวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์
ตอนต่อไปเราจะมาพูดให้ฟังต่อนะครับ